วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

วลี

วลี หรือ กลุ่มคำ เป็นการนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาเรียงต่อกันทำให้เกิดความหมายเพิ่มขึ้น มีความหมายมาจากคำเดิมที่นำมารวมมารวมกันแต่ไม่สมบูรณ์เหมือนประโยค วลีส่วนใหญ่มีคำกลางที่สำคัญหนึ่งคำที่เป็นตัวบ่งบอกถึงประเภทของวลี คำนั้นเรียกว่าเป็น "คำหลัก" ของวลี ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของวลีตามคำหลักของวลีได้ดังนี้คือ
  • นามวลี (NP) เป็นวลีที่มีคำนามเป็นคำหลักของวลี เช่น แมวบนเสื่อ, บ้านริมน้ำ
  • กริยาวลี (VP) เป็นวลีที่มีคำกริยาเป็นคำหลักของวลี เช่น กินข้าว, กระโดดขึ้นลง
  • บุพบทวลี (PP) เป็นวลีที่มีคำบุพบทเป็นคำหลักของวลี เช่น ที่สุดถนน, หน้าร้านอาหาร
นอกจากนี้ยังมี สรรพนามวลี วิเศษณวลี กริยาวิเศษณวลี สันธานวลี อุทานวลี ฯลฯ ขึ้นอยู่กับประเภทของคำกลาง อย่างไรก็ตาม ในบางภาษาถึงแม้จะไม่มีคำหลักของวลี แต่ก็สามารถเป็นวลีประเภทอื่นได้ เช่นในภาษาอังกฤษ the rich (คนร่ำรวย) เป็นนามวลีที่มีแต่คำวิเศษณ์ ไม่มีคำนามอยู่เลย

วิชาภาษาไทย 2

ภาษาไทย ถิ่นใต้
ภาษาไทยถิ่นใต้ หรือ ภาษาตามโพร (อังกฤษDambro) เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัดและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้านในรัฐกลันตัน รัฐปะลิส รัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) รัฐเประ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย บางหมู่บ้านในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉพาะ

สำเนียงย่อย

ภาษาไทยถิ่นใต้แยกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก (ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ถือเป็นกลุ่มย่อยในภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก), ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก และภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ (เจ๊ะเห)

[แก้]ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดกันมากทางฝั่งตะวันออกของปักษ์ใต้ บริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุงสงขลา ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์, อำเภอแม่ลาน, อำเภอหนองจิก และ อำเภอเมือง) ตรัง สตูล (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ ,ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย บ้านบาลิ่ง ) ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และสตูล แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)

[แก้]ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ จะมีลักษณะเด่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นออกเสียงคำว่า แตก เป็น แตะ ดอกไม้ เป็น เดาะไม้ สามแยก เป็น สามแยะ ฯลฯ ภาษาไทยถิ่นใต้ในเขตอำเภอขนอม นครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเทือกเขานครศรีธรรมราช(เขาหลวง) และในกลุ่มอำเภอฉวาง พิปูน ถ้ำพรรณรา และทุ่งสง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขานครศรีธรรมราช(เขาหลวง) ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันออก แต่สำเนียงภาษาถือเป็นกลุ่มเดียวกับจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ไม่ได้
การแบ่งเขตระหว่างพื้นที่ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก (คำที่มีเสียงสระยาวสามารถออกเสียง ก. สะกดได้ชัด) กับพื้นที่ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก (คำที่มีเสียงสระยาว ออกเสียง ก. สะกดไม่ได้) สามารถกำหนดแนวแบ่งเขตคร่าว ๆ ได้โดยลากเส้นแนวแบ่งเขตระหว่างอำเภอขนอม และอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ลากขึ้นเขาหลวง แล้ววกลงไปทางใต้ โดยใช้แนวเขาหลวง เป็นแนวแบ่งเขต ผ่านลงไปถึงจุดระหว่างอำเภอทุ่งสง และอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นวกไปทางทิศตะวันตกไปยังอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ จรดทะเลอันดามัน

[แก้]ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา บางส่วนของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ถือเป็นกลุ่มย่อย ในกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก มีลักษณะที่เด่นคือ หางเสียงจะไม่ขาดห้วน แต่จะค่อยๆเบาเสียงลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวช่วยให้ภาษาสงขลาฟังแล้วไม่หยาบกระด้างอย่างสำเนียงใต้ถิ่นอื่น นอกจากนี้ยังคำที่ใช้บ่อยในสำเนียงนี้คือ คำว่า เบอะ หรือ กะเบอะซึ่งมีความหมายในภาษาไทยมาตรฐานว่า เพราะว่า, ก็เพราะว่า เรียกเงินว่า เบี้ย ในขณะที่ถิ่นอื่นนิยมเรียกว่า ตางค์ และคำที่นิยมใช้อีกคำหนึ่ง คือ ไม่หอน ซึ่งมีความหมายว่า ไม่เคย เช่น ฉานไม่หอนไปเป็นต้น[1]

[แก้]ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ หรือ ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี(เฉพาะ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี) รวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของมาเลเซีย ในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกหนึ่งภาษาคือภาษาถิ่นพิเทน ซึ่งพูดกันในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานีเท่านั้น
ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องมีคนในจังหวัดอื่นๆ มาอาศัยหรือทำงานในจังหวัดนราธิวาส จึงนำภาษาไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัดมาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยถิ่นใต้จากจังหวัดพัทลุงสงขลา นครศรีธรรมราช คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทย 2 สำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียง เจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง เจะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส แต่ในเมืองมักจะพูดสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก

[แก้]ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน เป็นภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบที่ใช้อยู่ในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันคนในตำบลพิเทนพูดภาษาไทยถิ่นพิเทนน้อยลง ส่วนมากจะใช้ภาษามลายูปัตตานีในชีวิตประจำวัน ตามความนิยมของผู้ใช้ภาษาส่วนใหญ่ ผู้ที่สามารถใช้สำเนียงพิเทนได้ดีคือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อายุน้อยกว่านี้บางคนไม่ยอมพูดภาษาของตน หรือพูดได้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยภาษาพิเทนมีการใช้คำยืมและคำที่ใช้ร่วมกันกับภาษามลายูปัตตานีถึงร้อยละ 97[2]

[แก้]ภาษาทองแดง

ภาษาทองแดง เดิมเป็นอีกชื่อของภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นชื่อที่แปลมาจากชื่อเดิมคือ "ภาษาตามโพร" สันนิษฐานว่าการตั้งชื่อนี้มาจากชื่อของอาณาจักรตามพรลิงก์ (ตาม-พระ-ลิง)[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งคำว่า ตามพร(ะ)- แปลว่าทองแดง (สันสกฤตTāmbra ตามพรบาลีTāmba ตามพ) แต่ในปัจจุบัน คำว่าภาษาทองแดง จะหมายถึง ผู้ที่มีภาษาแม่เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ เมื่อพูดภาษาไทยมาตรฐานแล้วสำเนียงจะไม่ชัด กล่าวคือ มีสำเนียงของภาษาไทยถิ่นใต้ หรือใช้คำศัพท์ที่มีอยู่เฉพาะในภาษาไทยถิ่นใต้ มาปะปนอยู่กับภาษาไทยมาตรฐาน คนไทยถิ่นใต้จะเรียกอาการนี้ว่า แหลงทองแดง (ทองแดงหล่น) ตัวอย่างเช่น การออกเสียงอักษร ฮ. แทนเสียง ง. , การออกเสียง ควฺ , ขวฺ แทนเสียง ฟ., ฝ. (การจับผิดว่า คนไทยถิ่นใต้คนหนึ่งคนใด"แหลงทองแดง" หรือพูดภาษาไทยมาตรฐานไม่ถูกต้องนั้น คนไทยถิ่นใต้ถือว่า เป็นการดูถูก แต่จะอนุญาตให้จับผิดได้ เฉพาะในกลุ่มคนไทยถิ่นใต้ด้วยกัน หรือเป็นคนที่สนิทสนมกัน เท่านั้น)